วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Thai Policman


          ข้าราชการตำรวจไทย       
          มีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างยิ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อย และอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ต้องควบคู่กับหลักทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการพัฒนาข้าราชการด้วยหลักธรรม 10 ประการ
          
  1. ทาน การสละวัสดุสิ่งของและวิชาความรู้ เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น และให้ประการอื่นๆ เช่น กำลังกาย และกำลังคิด
  2. ศีล ควบคุมพฤติกรรมทางกาย วาจา ตลอดถึงใจ ให้เป็นปกติ เรียบร้อย
  3. ปริจจาคะ เสียสละประโยชน์สุขส่วนตน เพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน
  4. อาชชวะ ความซื่อตรง
  5. มัททวะ ความสุภาพอ่อนโยน
  6. ตบะ ความเพียรพยายามในหน้าที่การงานจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่ลดละ
  7. อักโกธะ ความไม่แสดงความเกรี้ยวกราด โกธรแค้นต่อใครๆ
  8. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้ได้ทุกข์เดือดร้อน
  9. ขันติ ความอดทนต่อความยากลำบากทั้งนี้เนื่องมาจากวัตถุธรรมและนามธรรม
  10. อวิโรธนะ ความไม่ประพฤติปฏิบัติผิดไปจากทำนองคลองธรรม             

     คุณธรรม 10 ประการที่กล่าวมานี้ จะต้องปฏิบัติด้วยกัน จึงจะเกิดผล                                                            ....คือ ประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม

            หากจะกล่าวกันโดยสารัตถะ หรือโดยใจความสำคัญแล้ว ก็คือเรื่อง ของการให้ การบริจาค(ศีล อาชชวะ), ความอ่อนโยน มีไมตรีเอื้ออาทรต่อกัน(มัททวะ อักโกธะ อวิหิงสา),ความเพียรพยายามอดทน(ตบะ ขันติ),และความถูกต้องยุติธรรม(อวิโรธนะ)



ตามคติแห่งพระพุทธศาสนา จึงถือว่าทศพิศราชธรรมนี้ เป็นคุณธรรมเพื่อยังประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน โดยมีพระราชาหรือผู้ปกครองเป็นผู้นำในการประพฤติปฏิบัติ โดยนัยนี้ คุณธรรมหมวดนี้จึงอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งตามลักษณะของผลที่มุ่งหมายว่า สุขุบายธรรม คือ ธรรมเป็นอุบาย 

คือ นโยบายนำไปสู่ความสุขความเจริญ



คุณธรรมเพื่อความสัมฤทธิ์ผล ..ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
  1. มีปัญญา คือ ความฉลาดสามารถในการรู้ การคิด และการทำ เพื่อพัฒนาตนเองและหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ ให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ

  2. มีความรู้พร้อม คือ มีความรอบคอบรู้ในวิชาการต่างๆอย่างพร้อมมูล อย่างน้อยก็จะต้องมีความรู้ดีในสาขาวิชาที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบ หรือประกอบกิจกรรมอยู่

  3. มีความฉลากในวิธีการ ได้แก่ มีความฉลาดสามารถในการจัดการ หรือดำเนินการในอันที่จะให้หน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบนั้น ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ความเหมาะสม และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

  4. รู้จักกาลเวลา คือรู้จักกาลเทศะว่า เวลาใดควรจะทำอะไร เวลาใดไม่ควรทำอะไร เป็นต้น ตลอดถึงรู้จักคุณค่าของเวลา ไม่ปล่อยให้เวลาและโอกาสอันควรล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์

  5. รู้จักยุคสมัย คือต้องเป็นคนทันโลก สังคม และทันเหตุการณ์ สามารถปรับตัวและปรับปรุงแก้ไขกิจการในหน้าที่รับผิดชอบของตน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
หน้าที่ตำรวจตาม พ...ตำรวจแห่งชาติ พ.. 2547 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ตำรวจไว้ใน ลักษณะที่ 1 บททั่วไป มาตรา


สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี                                 พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

  2. ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  3. ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา

  4. รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร

  5. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

  6. ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

ตำรวจ

         เป็นชื่อเรียกของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เรียกชื่อตามหน้าที่รับผิดชอบ เช่น 



ตำรวจกองปราบ 




มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย  ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
  สืบสวนสอบสวนการกระทำผิดที่มีโทษ        ทางอาญา เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย


 ทรัพย์สิน ผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้าง อาวุธสงคราม และความผิดอันเกี่ยวกับการก่อความไม่สงบสุขแก่ประชาชน





ตำรวจน้ำ


     

     ส่วนราชการที่ใช้ชื่อเต็มๆว่า กองบังคับการตำรวจน้ำ สังกัด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อ นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ ป้องกัน และ ปราบปรามการกระทำผิด 

       ใน ทุกๆ พ...ที่ตำรวจบกปฏิบัติ แต่ เพิ่มเติมความผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางน้ำต่างๆ



ตำรวจตระเวนชายแดน





 







ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นกำลังเสริม แทนการใช้กำลังทหาร ในรักษาความสงบตามแนวตะเข็บชายแดน อันเนื่องจากสนธิสัญญากรุงเจนีวาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสกำหนดห้ามไม่ให้มีกำลังทหารในระยะ 25 กิโลเมตรจากแนวชายแดน จุดประสงค์หลักในการจัดตั้ง ตชด.ในช่วงแรกคือป้องกันกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่เข้ามารุกรานในประเทศ โดยให้ ตชด. เป็นหน่วยที่มีคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 

1.สามารถปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างตำรวจ 

2.สามารถรบได้อย่างทหาร 

3.สามารถบริการประชาชนแทนกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆได้อย่างข้าราชการพลเรือนทั่วไป

                                                                     ตำรวจจราจร


      ควบคุมและดูแลพื้นที่ จัดระเบียบความถูกต้องบนท้องถนนตามเขตต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ควาปลอดภัย และกฎข้อบังคับ บนท้องถนน


ตำรวจทางหลวง


     ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ และราชินี ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
     ตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาและจราจร  
บริการประชาชนผู้ใช้ทางถนน  ให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยในเขตทางหลวง  และทางพิเศษที่อยู่ในอำนาจรับผิด            ชอบและ ควบคุมดูแลการใช้ทางหลวงให้เป็นไปตามกฎหมาย
     



ตำรวจภูธร













เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามในเขตต่างจังหวัดในกรุงเทพมหานคร


ตำรวจวัง

    หน้าที่รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ ประสานงานระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกรมราชองครักษ์ และประสานการงานถวายความปลอดภัยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือน


ตำรวจสภา

ข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา



ตำรวจสันติบาล

      หัวหน้ารับผิดชอบและให้กรมมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจภูธร

       การปฏิบัติราชการให้เจ้าหน้าที่ในกรมนี้มีอำนาจตามกฎหมายเสมือนเสมอกัน และให้เจ้ากรมมีอำนาจออกหมายจับหมายค้นบ้านเรือน หมายเรียก พยานได้ตามกฎหมายทั้งในและนอกเขตกรุงเทพมหานคร



ชั้นยศตำแหน่งของตำรวจไทย




























การพัฒนาคุณภาพของข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับประชาชนทั่วไป และยังเป็นการลดการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากในแต่ละปี ซึ่งได้เสียสละชีวิตของตนเอง ในขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยคนร้ายได้ทำการอุกอาจและเพิ่มความรุนแรงต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งในบางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ฝึกฝนตนเอง และหมั่นทวนยุทธวิถีอยู่เสมอ ก็จะสามารถรักษาชีวิตของตนเองให้รอดจากวิกฤตนั้นได้







   รวบรวมเทคนิค การต่อสู้ด้วยมือเปล่า การจับกุม ยุทธวิธีการต่อสู้กับมีด และปืนในระยะประชิดตัว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ แนวการฝึกนี้ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการตำรวจ เพื่อป้องกันและปราบปราม จับกุมคนร้ายมิจฉาชีพ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความสงบสุขของประชาชนและสังคม




การเตรียมตัวก่อนออกปฏิบัติหน้าที่

  • เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย ก่อนออกปฏิบัติแต่ละวัน ต้องสำรวจความพร้อมของตนเอง
  • สำนึกในหน้าที่ ตนมีหน้าที่ที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อพิทักษ์คนดี และปราบปรามคนร้าย
  • ตรวจความพร้อมของร่างกาย ตลอดจนอาวุธประจำกายในสภาพพร้อมใช้หรือไม่ อาวุธปืนชำรุดหรือไม่ กระสุนปืนหมดอายุการใช้งานหรือยัง
  • การทบทวนยิงปืน ยิงครั้งหลังสุดเมื่อไหร่ ต้องหมั่นในการทบทวนยุทธวิถีการยิงปืน ตลอดจนการฝึกด้านกายภาพ และทบทวนยุทธวิถี

เมื่อประสบเหตุร้าย....
  • พยายามรวบรวมสมาธิให้นิ่ง มองและสังเกตคนร้ายมีจำนวนเท่าไหร่ ใช้อาวุธอะไร
  • ประเมินสถานการณ์ หากคนร้ายมีจำนวนมาก และใช้อาวุธหนัก เจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อยก็ไม่ควรแลกชีวิต ให้จดจำรูปพรรณคนร้ายให้มากที่สุด และขอกำลังสนับสนุน และติดตามไป อย่าให้คาดสายตา รายงานผู้บังคับบัญชาทันที
  • การเข้าทำการจับกุม อย่าตั้งอยู่ในความประมาท ให้ดำเนินการตามขั้นตอนยุทธวิถี ในการตรวจค้น หากคนหนึ่งเข้าตรวจค้น อีกคนต้องชักปืนออกมาและควบคุมสถานการณ์ หากคนร้ายต่อสู้ ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ ได้ทันท่วงที


+สังเกตจากสิ่งที่เป็นจุดเด่น ผิดปกติ ตำหนิ ที่อาจจดจำได้ง่าย+

  1. ตำหนิ แผลเป็นบนใบหน้า ไฝ ปาน หูด ติ่งเนื้อ มีลักษณะอย่างไร อยู่ส่วนไหนของร่างกาย
  2. แผลเป็น ลักษณะอย่างไร ขนาดเท่าไร อยู่คู่ส่วนใดของร่างกาย
  3. ลายสัก สักรูปอะไร สีอะไร อยู่ที่ไหนของร่างกาย
  4. ความพิการ ตาบอด หูหนวก ใบ้ แขน-ขา ด้วนหลีบ ปากเบี้ยว
  5. ท่าทางการเดิน เดินตัวตรง ตัวเอียง ขากะเผลก
สำเนียงการพูด พูดช้า เร็ว ติดอ่าง สำเนียงภาษาเหนือ อีสาน ใต้ จีนไทย ฝรั่ง 



*วิธีการใช้กุญแจมือให้ถูกวิธี


เพื่อความปลอดภัยของผู้ควบคุมกรณีที่มีคนร้ายหลายคนให้ใส่กุญแจมือแบบไพล่หลังและสอดแขนซึ่งกันและกัน จะทำให้คนร้ายไม่สะดวกในการหนีหรือต่อสู้ 





*การควบคุมโดยใช้เชือก



ในกรณีที่จับคนร้ายสำคัญ และไม่มีกุญแจมือให้ใช้เชือกรองเท้าให้คนร้ายหันมือเข้าหากัน มัดข้อมือให้แน่นพอประมาณ และใช้เชือกมัดระหว่างมือทั้งสองอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบดูว่าแน่นพอ ไม่หลวมจนคนร้ายสามารถสอดมือออกได้ หากมีเชือกเพียงพอให้มัดหัวแม่มือเช่นเดียวกับข้อมือ




การใช้กุญแจมือด้านหน้า โดยสอดเข้าใต้เข็มขัด






         ท่านี้เป็นท่าที่มีความเมตตาต่อคนร้าย เพราะ ถูกใส่ไว้ด้านหน้าจะมีความสบายกว่าด้านหลัง เพื่อเป็นการลดอันตรายของผู้ควบคุมที่คนร้าย อาจต่อสู้ได้การสอดกุญแจมือเข้าใต้เข็มขัดนั้นจะช่วยควบคุมไว้ คนร้ายไม่สามารถหรือสะดวกในการต่อสู่ แต่ต้องหันหัวเข็มขัดของคนร้ายไปไว้ด้านหลัง เพื่อป้องกันการแอบถอดหัวเข็มขัดและต่อสู้ได้




การควบคุมคนร้ายสองคนด้วยกุญแจมือเพียงคู่เดียว






           การใส่กุญแจมือคนร้ายสองคนด้านหน้าโดยใช้แขนคู่ใน นั้นอันตรายมาก เพราะ คนร้ายอาจหนีและต่อสู้ได้สะดวก ในกรณีควบคุมคนร้ายสองคนด้วยกุญแจมือเพียงคูเดียว ควรใส่ข้อมือขวาของคนด้านซ้ายกับข้อมือขวาของคนด้านขวา จะทำให้คนร้ายหนีหรือต่อสู้ได้ไม่สะดวก



คลิปวิดีโอการสัมภาษณ์จากสถานีตำรวจ บุปผาราม



ร.ต.อ  ปรีชา  วรรณหงส์ 

(รองสารวัตรจราจร)

     
























 

ตัวอย่างการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำรวจจราจร




แหล่งอ้างอิง (จากหนังสือ)

สถาบันบันลือธรรม(สมเด็จพระญาณสังวร ), การพัฒนาข้าราชการด้วยทศพิธราชธรรม , 09 มิ.. 2549
..อ หาญ เลิศทวีวิทย์ , ยุทธวิธีการจับกุมคนร้าย ฉบับ การ์ตูน , โปลิศจับขโมย ,
03 .. 2554
องอาจ ทรัพย์มาก , ความรู้เบื้องต้นการปฏิบัติงานตำรวจ , 20 มี.. 2541

แหล่งอ้างอิงจากบุคคล
      ร..อ ปรีชา วรรณหงส์ (รองสารวัตรจราจร) , วันที่ 3 มกราคม 2557 , การประวัติการทำงาน หน้าที่ที่รับผิดชอบ การจัดระบบการปฏิบัติงาน หลักกฎเกณฑ์ หลักปรัชญา และข้อคิดหรือการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
.. สำณวน อุปวัตร , วันที่ 3 มกราคม 2557 , การปฏิบัติงานจราจร กดสัญญาณไฟ บริเวณ สี่แยกบ้านแขก


สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
5504115policman โดย 5504115policman อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น