ข้าราชการตำรวจไทย
มีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างยิ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อย
และอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน
ต้องควบคู่กับหลักทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นการพัฒนาข้าราชการด้วยหลักธรรม
10
ประการ
- ทาน การสละวัสดุสิ่งของและวิชาความรู้ เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น และให้ประการอื่นๆ เช่น กำลังกาย และกำลังคิด
- ศีล ควบคุมพฤติกรรมทางกาย วาจา ตลอดถึงใจ ให้เป็นปกติ เรียบร้อย
- ปริจจาคะ เสียสละประโยชน์สุขส่วนตน เพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน
- อาชชวะ ความซื่อตรง
- มัททวะ ความสุภาพอ่อนโยน
- ตบะ ความเพียรพยายามในหน้าที่การงานจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่ลดละ
- อักโกธะ ความไม่แสดงความเกรี้ยวกราด โกธรแค้นต่อใครๆ
- อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้ได้ทุกข์เดือดร้อน
- ขันติ ความอดทนต่อความยากลำบากทั้งนี้เนื่องมาจากวัตถุธรรมและนามธรรม
- อวิโรธนะ ความไม่ประพฤติปฏิบัติผิดไปจากทำนองคลองธรรม
คุณธรรม
10
ประการที่กล่าวมานี้
จะต้องปฏิบัติด้วยกัน
จึงจะเกิดผล ....คือ
ประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม
หากจะกล่าวกันโดยสารัตถะ
หรือโดยใจความสำคัญแล้ว
ก็คือเรื่อง ของการให้
การบริจาค(ศีล
อาชชวะ), ความอ่อนโยน
มีไมตรีเอื้ออาทรต่อกัน(มัททวะ
อักโกธะ อวิหิงสา),ความเพียรพยายามอดทน(ตบะ
ขันติ),และความถูกต้องยุติธรรม(อวิโรธนะ)
ตามคติแห่งพระพุทธศาสนา
จึงถือว่าทศพิศราชธรรมนี้
เป็นคุณธรรมเพื่อยังประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน
โดยมีพระราชาหรือผู้ปกครองเป็นผู้นำในการประพฤติปฏิบัติ
โดยนัยนี้
คุณธรรมหมวดนี้จึงอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งตามลักษณะของผลที่มุ่งหมายว่า
สุขุบายธรรม คือ ธรรมเป็นอุบาย
คือ นโยบายนำไปสู่ความสุขความเจริญ
- มีปัญญา คือ ความฉลาดสามารถในการรู้ การคิด และการทำ เพื่อพัฒนาตนเองและหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ ให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ
- มีความรู้พร้อม คือ มีความรอบคอบรู้ในวิชาการต่างๆอย่างพร้อมมูล อย่างน้อยก็จะต้องมีความรู้ดีในสาขาวิชาที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบ หรือประกอบกิจกรรมอยู่
- มีความฉลากในวิธีการ ได้แก่ มีความฉลาดสามารถในการจัดการ หรือดำเนินการในอันที่จะให้หน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบนั้น ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ความเหมาะสม และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
- รู้จักกาลเวลา คือรู้จักกาลเทศะว่า เวลาใดควรจะทำอะไร เวลาใดไม่ควรทำอะไร เป็นต้น ตลอดถึงรู้จักคุณค่าของเวลา ไม่ปล่อยให้เวลาและโอกาสอันควรล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์
- รู้จักยุคสมัย
คือต้องเป็นคนทันโลก สังคม
และทันเหตุการณ์
สามารถปรับตัวและปรับปรุงแก้ไขกิจการในหน้าที่รับผิดชอบของตน
ให้เหมาะสมกับสถานการณ์
และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
-
รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์
พระราชินี พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์
และพระราชอาคันตุกะ
-
ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
-
ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
-
รักษาความสงบเรียบร้อย
ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
-
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
-
ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์
พระราชินี พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์
และพระราชอาคันตุกะ
ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
รักษาความสงบเรียบร้อย
ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ตำรวจ
เป็นชื่อเรียกของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เรียกชื่อตามหน้าที่รับผิดชอบ เช่น
ตำรวจกองปราบ
มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย
ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
ทรัพย์สิน ผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้าง อาวุธสงคราม และความผิดอันเกี่ยวกับการก่อความไม่สงบสุขแก่ประชาชน
ตำรวจน้ำ
ส่วนราชการที่ใช้ชื่อเต็มๆว่า
กองบังคับการตำรวจน้ำ สังกัด
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ขึ้นตรงต่อ นายกรัฐมนตรี
ปฏิบัติหน้าที่ ป้องกัน และ
ปราบปรามการกระทำผิด
ใน
ทุกๆ พ.ร.บ.ที่ตำรวจบกปฏิบัติ
แต่ เพิ่มเติมความผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางน้ำต่างๆ
ตำรวจตระเวนชายแดน
ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นกำลังเสริม
แทนการใช้กำลังทหาร
ในรักษาความสงบตามแนวตะเข็บชายแดน อันเนื่องจากสนธิสัญญากรุงเจนีวาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสกำหนดห้ามไม่ให้มีกำลังทหารในระยะ
25 กิโลเมตรจากแนวชายแดน
จุดประสงค์หลักในการจัดตั้ง
ตชด.ในช่วงแรกคือป้องกันกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่เข้ามารุกรานในประเทศ
โดยให้ ตชด.
เป็นหน่วยที่มีคุณลักษณะสำคัญ
3 ประการ
คือ
1.สามารถปฏิบัติหน้าที่ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างตำรวจ
2.สามารถรบได้อย่างทหาร
3.สามารถบริการประชาชนแทนกระทรวง
ทบวง กรมอื่นๆได้อย่างข้าราชการพลเรือนทั่วไป
ตำรวจจราจร
ควบคุมและดูแลพื้นที่ จัดระเบียบความถูกต้องบนท้องถนนตามเขตต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ควาปลอดภัย และกฎข้อบังคับ บนท้องถนน
ตำรวจทางหลวง
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ และราชินี ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาและจราจร
บริการประชาชนผู้ใช้ทางถนน ให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยในเขตทางหลวง และทางพิเศษที่อยู่ในอำนาจรับผิด ชอบและ ควบคุมดูแลการใช้ทางหลวงให้เป็นไปตามกฎหมาย
ตำรวจภูธร
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามในเขตต่างจังหวัดในกรุงเทพมหานคร
ตำรวจวัง
หน้าที่รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์
พระราชินี พระรัชทายาท
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์
และพระราชอาคันตุกะ
ประสานงานระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกรมราชองครักษ์
และประสานการงานถวายความปลอดภัยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและพลเรือน
ตำรวจสภา
ข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
ตำรวจสันติบาล
หัวหน้ารับผิดชอบและให้กรมมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจภูธร
การปฏิบัติราชการให้เจ้าหน้าที่ในกรมนี้มีอำนาจตามกฎหมายเสมือนเสมอกัน
และให้เจ้ากรมมีอำนาจออกหมายจับหมายค้นบ้านเรือน
หมายเรียก
พยานได้ตามกฎหมายทั้งในและนอกเขตกรุงเทพมหานคร
ชั้นยศตำแหน่งของตำรวจไทย
การพัฒนาคุณภาพของข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ
ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์
บำรุงสุข ให้กับประชาชนทั่วไป
และยังเป็นการลดการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากในแต่ละปี
ซึ่งได้เสียสละชีวิตของตนเอง
ในขณะปฏิบัติหน้าที่
โดยคนร้ายได้ทำการอุกอาจและเพิ่มความรุนแรงต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ซึ่งในบางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ฝึกฝนตนเอง
และหมั่นทวนยุทธวิถีอยู่เสมอ
ก็จะสามารถรักษาชีวิตของตนเองให้รอดจากวิกฤตนั้นได้
รวบรวมเทคนิค
การต่อสู้ด้วยมือเปล่า
การจับกุม ยุทธวิธีการต่อสู้กับมีด
และปืนในระยะประชิดตัว
ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่
แนวการฝึกนี้
เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการตำรวจ
เพื่อป้องกันและปราบปราม
จับกุมคนร้ายมิจฉาชีพ
อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อความสงบสุขของประชาชนและสังคม
การเตรียมตัวก่อนออกปฏิบัติหน้าที่
- เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย ก่อนออกปฏิบัติแต่ละวัน ต้องสำรวจความพร้อมของตนเอง
- สำนึกในหน้าที่ ตนมีหน้าที่ที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อพิทักษ์คนดี และปราบปรามคนร้าย
- ตรวจความพร้อมของร่างกาย ตลอดจนอาวุธประจำกายในสภาพพร้อมใช้หรือไม่ อาวุธปืนชำรุดหรือไม่ กระสุนปืนหมดอายุการใช้งานหรือยัง
- การทบทวนยิงปืน ยิงครั้งหลังสุดเมื่อไหร่ ต้องหมั่นในการทบทวนยุทธวิถีการยิงปืน ตลอดจนการฝึกด้านกายภาพ และทบทวนยุทธวิถี
เมื่อประสบเหตุร้าย....
- พยายามรวบรวมสมาธิให้นิ่ง มองและสังเกตคนร้ายมีจำนวนเท่าไหร่ ใช้อาวุธอะไร
- ประเมินสถานการณ์ หากคนร้ายมีจำนวนมาก และใช้อาวุธหนัก เจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อยก็ไม่ควรแลกชีวิต ให้จดจำรูปพรรณคนร้ายให้มากที่สุด และขอกำลังสนับสนุน และติดตามไป อย่าให้คาดสายตา รายงานผู้บังคับบัญชาทันที
- การเข้าทำการจับกุม อย่าตั้งอยู่ในความประมาท ให้ดำเนินการตามขั้นตอนยุทธวิถี ในการตรวจค้น หากคนหนึ่งเข้าตรวจค้น อีกคนต้องชักปืนออกมาและควบคุมสถานการณ์ หากคนร้ายต่อสู้ ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ ได้ทันท่วงที
+สังเกตจากสิ่งที่เป็นจุดเด่น ผิดปกติ ตำหนิ ที่อาจจดจำได้ง่าย+
- ตำหนิ แผลเป็นบนใบหน้า ไฝ ปาน หูด ติ่งเนื้อ มีลักษณะอย่างไร อยู่ส่วนไหนของร่างกาย
- แผลเป็น ลักษณะอย่างไร ขนาดเท่าไร อยู่คู่ส่วนใดของร่างกาย
- ลายสัก สักรูปอะไร สีอะไร อยู่ที่ไหนของร่างกาย
- ความพิการ ตาบอด หูหนวก ใบ้ แขน-ขา ด้วนหลีบ ปากเบี้ยว
- ท่าทางการเดิน เดินตัวตรง ตัวเอียง ขากะเผลก
สำเนียงการพูด
พูดช้า เร็ว ติดอ่าง สำเนียงภาษาเหนือ
อีสาน ใต้ จีนไทย ฝรั่ง
*วิธีการใช้กุญแจมือให้ถูกวิธี
เพื่อความปลอดภัยของผู้ควบคุมกรณีที่มีคนร้ายหลายคนให้ใส่กุญแจมือแบบไพล่หลังและสอดแขนซึ่งกันและกัน
จะทำให้คนร้ายไม่สะดวกในการหนีหรือต่อสู้
*การควบคุมโดยใช้เชือก
ในกรณีที่จับคนร้ายสำคัญ
และไม่มีกุญแจมือให้ใช้เชือกรองเท้าให้คนร้ายหันมือเข้าหากัน
มัดข้อมือให้แน่นพอประมาณ
และใช้เชือกมัดระหว่างมือทั้งสองอีกครั้ง
เพื่อตรวจสอบดูว่าแน่นพอ
ไม่หลวมจนคนร้ายสามารถสอดมือออกได้
หากมีเชือกเพียงพอให้มัดหัวแม่มือเช่นเดียวกับข้อมือ
การใช้กุญแจมือด้านหน้า
โดยสอดเข้าใต้เข็มขัด
ท่านี้เป็นท่าที่มีความเมตตาต่อคนร้าย
เพราะ ถูกใส่ไว้ด้านหน้าจะมีความสบายกว่าด้านหลัง
เพื่อเป็นการลดอันตรายของผู้ควบคุมที่คนร้าย
อาจต่อสู้ได้การสอดกุญแจมือเข้าใต้เข็มขัดนั้นจะช่วยควบคุมไว้
คนร้ายไม่สามารถหรือสะดวกในการต่อสู่
แต่ต้องหันหัวเข็มขัดของคนร้ายไปไว้ด้านหลัง
เพื่อป้องกันการแอบถอดหัวเข็มขัดและต่อสู้ได้
การควบคุมคนร้ายสองคนด้วยกุญแจมือเพียงคู่เดียว
การใส่กุญแจมือคนร้ายสองคนด้านหน้าโดยใช้แขนคู่ใน
นั้นอันตรายมาก เพราะ
คนร้ายอาจหนีและต่อสู้ได้สะดวก
ในกรณีควบคุมคนร้ายสองคนด้วยกุญแจมือเพียงคูเดียว
ควรใส่ข้อมือขวาของคนด้านซ้ายกับข้อมือขวาของคนด้านขวา
จะทำให้คนร้ายหนีหรือต่อสู้ได้ไม่สะดวก
คลิปวิดีโอการสัมภาษณ์จากสถานีตำรวจ บุปผาราม
ร.ต.อ ปรีชา วรรณหงส์
(รองสารวัตรจราจร)
ตัวอย่างการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำรวจจราจร
แหล่งอ้างอิง
(จากหนังสือ)
สถาบันบันลือธรรม(สมเด็จพระญาณสังวร
),
การพัฒนาข้าราชการด้วยทศพิธราชธรรม
, 09 มิ.ย.
2549
พ.ต.อ
หาญ เลิศทวีวิทย์
,
ยุทธวิธีการจับกุมคนร้าย
ฉบับ การ์ตูน ,
โปลิศจับขโมย
,
03 ส.ค.
2554
องอาจ
ทรัพย์มาก ,
ความรู้เบื้องต้นการปฏิบัติงานตำรวจ
, 20 มี.ค.
2541
แหล่งอ้างอิงจากบุคคล
ร.ต.อ
ปรีชา วรรณหงส์ (รองสารวัตรจราจร)
, วันที่
3 มกราคม
2557 ,
การประวัติการทำงาน
หน้าที่ที่รับผิดชอบ
การจัดระบบการปฏิบัติงาน
หลักกฎเกณฑ์ หลักปรัชญา
และข้อคิดหรือการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
ด.ต.
สำณวน
อุปวัตร
, วันที่
3 มกราคม
2557
, การปฏิบัติงานจราจร
กดสัญญาณไฟ บริเวณ สี่แยกบ้านแขก
5504115policman โดย 5504115policman อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.